วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ประวัติวันวาเลนไทน์
 
 
 
.. วันวาเลนไทน์ ..

วันวาเลนไทน์ นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยัง สืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการ ที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลายครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญ " วาเลนไทน์ " ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สองท่าน นักบุญ วาเลนไทน์ และนักบุญ มาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็กๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับๆด้วย

และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้ นักบุญ วาเลนไทน์ ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์
.. ทำไมจึงชื่อ " วันวาเลนไทน์ " ..

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันวาเลนไทน์ ซึ่งพวกหนุ่มสาวมักจะรีบไปซื้อบัตรส่งทักทายกันส่งใจถึงกัน นับเป็นความนิยมมากขึ้น ประเพณีนี้เข้ามาสู่ประเทศไทยทีละเล็กละน้อย และดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกปี เป็นประเพณีที่หนุ่มสาวนิยมกันมากเป็นพิเศษที่สหรัฐอเมริกาและที่ประเทศอังกฤษ

ทำไมจึงมีชื่อว่า “ วันวาเลนไทน์ ” และความหมายที่แท้จริงของวันนี้คืออะไร? และมาจากไหน?

นักบุญ วาเลนไทน์ (Valentine) เป็นสงฆ์คาทอลิกองค์หนึ่งที่ได้ถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คริสตศักราช 270 ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิโรมัน เกลาดิอุส ที่ 2 ( Clanoius) โดยแท้จริงแล้วท่านนักบุญไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีการเลือกคู่ หรือหาคู่ หรือหาแฟน หรือความรัก ความสนใจระหว่างหนุ่มสาว ท่านก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องด้วยเลย ถ้าเช่นนั้นแล้ว ทำไมจึงเลือกนักบุญองค์นี้มาเป็นองค์อุปถัมภ์สำหรับผู้ที่กำลังหาคู่ เลือกคู่หรือเลือกแฟนกันได้เล่า ? เหตุผลที่ค้นพบได้ก็คือ ที่มาของวันวาเลนไทน์ ไม่ขึ้นอยู่กับคนผู้นี้ แต่ขึ้นอยู่กับวันที่ 14 กุมภาพันธ์

ประเพณีเลือกคู่ หรือหาคู่นี้มีมาแต่โบร่ำโบราณในทุกชาติ ดูเหมือนกับว่าได้เกิดขึ้นพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ก็ว่าได้ ประเพณี วาเลนไทน์ นี้ก็มีต้นเหตุหรือ ที่มาสมัยที่จักรวรรดิโรมันแผ่อิทธิพลไปทั่ว ชาวโรมันสมัย โบราณมีการฉลองเทพเจ้าองค์หนึ่งชื่อ ลูแปร์คูส (Lupercus) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และถือว่าเป็นการฉลองใหญ่ ส่วนหนึ่งของการฉลองใหญ่นี้ก็จะเป็นการจัดงานหาคู่ของพวกหนุ่มสาว ซึ่งจัดขึ้นในวันก่อนวันฉลองใหญ่ 1 วัน คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้จะถือโอกาสให้พวกหนุ่มสาวเสนอตัวเป็นคนรักกันชั่วระยะเวลา 1 ปี ช่วงนี้จะเรียกว่าเป็นช่วงทดลองมิตรภาพเพื่อดูว่าทั้งคู่จะมีนิสัยใจคอเข้ากันได้หรือไม่ ชาวโรมันเป็นคนศรัทธาในเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็มีความเชื่อกันว่าพวกตนมีเทพเจ้าองค์หนึ่งซึ่งเขาขอให้เป็นผู้ดูแลความรักของเขาในระหว่างช่วงระยะเวลาการทดลองเป็นคู่รักกัน 1 ปี นั้น เทพเจ้าองค์นี้เป็นหญิงชื่อเทพธิดา Juno Februata ซึ่งตาม เทพนิยายของชาวโรมันเป็นมเหสีของ Jupiter องค์มหาเทพเจ้าทั้งหลาย

ครั้นต่อมา เมื่อชาวโรมันส่วนใหญ่กลับใจมาถือศาสนาคริสต์ (ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 4 ) ประเพณีของหนุ่มสาวที่จะหาคู่เพื่อทดลองเป็นคนรักกัน เพื่อจะแต่งงานกันในเวลาต่อไปนั้นก็ยังนิยมทำกันอยู่ แม้ว่าจะเป็นคริสตชนแล้วก็ตาม ฉะนั้นเขาก็ยังรักษาประเพณีการเลือกคู่ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้นอยู่ตลอดมา เพียงแต่ว่าหนุ่มสาว โรมันชาวคริสต์ได้หันมาเปลี่ยนตัวผู้อุปถัมภ์องค์ใหม่ เพราะคริสตชนไม่นับถือเทพเจ้าหรือเทพธิดาอย่างกาลก่อน เขาจึงหันมาเลือกหานักบุญในคริสตศาสนาที่มี วันฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งก็มี นักบุญวาเลนไทน์องค์นี้เอง จึงขอยืมชื่อท่านมาเป็นองค์อุปถัมภ์แทนเทพเจ้าเดิมของชาวโรมัน เรื่องราวความเป็นมามีดังนี้ ฉะนั้นถ้าท่านนักบุญมีชีวิตอยู่ท่านอาจรู้สึกงงงวยในตำแหน่งที่หนุ่มสาวได้เลือกตั้งและแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ โดยที่ท่านไม่ได้รู้เรื่องทางโลกของหนุ่มสาวด้วยเลยแม้แต่น้อย

ความรักระหว่างหนุ่มสาวนั้นอาจจะเผชิญกับอันตรายบางอย่าง และอาจจะเป็นโอกาสให้พลังและความรักนั้นทำลายความสัมพันธ์อันสูงส่งระหว่างหนุ่มสาวนั้นเอง ความหมายของการมี วันวาเลนไทน์ นี้ก็คือการช่วยหนุ่มสาวหาวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยใจบริสุทธิ์

ความหมายเห็นได้ชัดในคำว่า “You are my Valentine” ที่มักจะเขียนลงในบัตรส่งใจถึงกันและกัน ประโยคตามความหมายเดิม หมายถึงว่า “ข้าพเจ้าขอเสนอตัวเป็นเพื่อนสนิทของท่านในช่วงเวลา 1 ปี และข้าพเจ้าพร้อมที่จะตกลงแต่งงานกับท่าน ถ้ามิตรภาพของเรานี้เป็นสิ่งที่ยืนยง”
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวที่จะช่วยให้ก้าวหน้าในความรักที่แท้จริงนั้น ก็ควรจะประกอบด้วย 3 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1. ให้รู้จักกันทั้งในด้านดี ในด้านเสีย และข้อผิดพลาดซึ่งต่างก็มีอยู่ และยอมรับซึ่งกันและกันในข้อเหล่านั้น
2. ให้เคารพและเห็นใจกัน โดยเสียสละต่อกันเพื่อให้คนรักของตนได้รับความดี และความสุขใจในทางที่บริสุทธิ์งดงาม
3. ให้มีการปรับปรุง และเปลี่ยนนิสัยของตนในส่วนที่บกพร่อง เพื่อจะอยู่กันด้วยความสุขในอนาคต
ลักษณะทั้งสามดังกล่าวนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับหนุ่มสาวไทยไม่เฉพาะ ในวันวาเลนไทน์หรือสำหรับกลุ่มที่นิยมประเพณีต่างประเทศเท่านั้น แต่สำหรับทุกคู่ที่แสวงหาวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันอัน จะนำไปสู่ความรักที่มั่นคงและยั่งยืนชั่วชีวิต





 

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556


                                               วันครูแห่งชาติ

 

วันครูปีนี้ตรงกับวันพุธ ที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2556
 
วันครูแห่งชาติ
 

 

ประวัติความเป็นมาของวันครู

 
มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

 
 
 
ครูคือผู้ให้แสงสว่าง

ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทานคนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชน

ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครูโดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้

บทสวดเคารพครู

(
สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

สวดทำนองสรภัญญะ

(
สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม
(
กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู


เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมในวันครู

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบัน การจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลอนปีใหม่


กลอนปีใหม่

ขอลาที ปีเก่า แสนเศร้าโศก 
ความอับโชค ที่มา กับราศี 
อีกโพยภัย ไข้ทำ ประจำมี 
ในชีวี จงสลาย มลายพลัน

สวัสดี ปีใหม่ ขอให้สุข 
หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน 
อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน 
มีผิวพรรณ ผ่องนวล เย้ายวนชม

ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า 
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม 
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์ 
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง

ถ้าผู้ใด ใจว่าง เรื่องทางรัก 
ให้พบพักตร์ กันที อย่ามีหลง 
หากอกหัก หนักไป ครวญใคร่ปลง 
ขอท่านจง โชคดี ทั้งปีเทอญ